ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง

พิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง

สำหรับพิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ณ อำเภอเกาะคา นั้น ทางศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้นำช้างเข้าร่วมขบวนแห่จำนวน ๙ เชือก ได้แก่ สีดอสาธิต สีดอใหญ่ สีดอผาจันทร์ พังวันดี พังยม สีดอตาแดง พลายพะเยา พลายทอง พังวังเจ้า นอกจากนี้ยังมีควาญช้าง และหน่วยช่วยชีวิตช้างซึ่งนำทีมโดยหมอเหยี่ยว






ประวัติการจัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
นครลำปาง    
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  นครลำปาง  ในพระอิริยาบททรงม้าศึก  ขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง   พร้อมไพร่พลล้อมรอบ  ๙  คน        กองทัพภาคที่ ๓  โดย  มณฑลทหารบกที่ ๓๒       ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ   ในวงเงิน ๑๒,๐๐๐,๐๐๐.-บาท      ขั้นตอนการปั้นที่โรงปั้นของสำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์  ณ  พุทธมณฑลสาย ๕   อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม     สำหรับงานหล่อโลหะ   ดำเนินการที่โรงหล่อ บริษัทไฟน์อาร์ทจำกัด   อำเภอบางปะหัน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมบริจาคสมทบจนได้ครบตามจำนวน   และได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้ว    พร้อมกำหนดพิธีอัญเชิญพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  นครลำปาง   ประดิษฐาน  ณ  พลับพลาที่ประทับ  (ชั่วคราว)   สวนสาธารณะเกาะคา  อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง    ในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๓   เวลา  ๑๕.๐๐  น.  ที่ผ่านมา โดยมี แม่ทัพภาคที่ ๓ เป็นประธานในพิธี และประชาชนชาวจังหวัดลำปางร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก   

 

 

โครงการพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นครลำปาง

                       สมเด็จพระนเรศวรมหาราช    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์      ที่มีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง
ทรงกอบกู้เอกราชให้แก่ชาติไทย  สมควรที่จะเฉลิมพระเกียรติไว้ให้ปรากฏ    เพื่อจะได้เป็นอนุสรณ์สำหรับประชาชนชาวลำปาง และบุคคลทั่วไปเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ที่ปวงชนชาวไทยจัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ “ มหาราช ”  
การดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  นครลำปาง  กองทัพภาคที่ ๓ ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากรแล้ว  ตามหนังสือ กรมศิลปากร ที่ ศธ ๐๗๐๙/๓๙๘๔  ลง  ๔ กันยายน  ๒๕๓๕ และ ศธ ๐๗๑๓/๕๔๓  ลง ๑๒  กุมภาพันธ์  ๒๕๓๖  ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย  ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ  และข้าราชการพลเรือน ตลอดจนพี่น้องชาวลำปางอีกส่วนหนึ่ง
กองทัพภาคที่  ๓  ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดลำปางได้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนครลำปางขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕  แต่ความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นไปอย่างล่าช้า   ด้วยสาเหตุหลายประการ ได้แก่  ด้านการออกแบบ และงบประมาณ รวมทั้งความคิดเห็นต่อสถานที่ตั้งเพื่อสมพระเกียรติ
                ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๖  คณะกรรมการได้เห็นชอบในด้านรูปแบบการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนครลำปาง ในพระอิริยาบถทรงม้าศึก ขนาดเท่าครึ่งคนจริง พร้อมไพร่พลประกอบพระบรมราชานุสาวรีย์ อีกจำนวน ๙ นาย  โดยมอบหมายให้กรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการ ในวงเงินงบประมาณ ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท  ดำเนินการปั้น
ณ สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์  กรมศิลปากร  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  และหล่อโลหะที่ บริษัท เอเชีย ไฟน์อาร์ท จำกัด  อำเภอบางปะหัน  จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา  ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว   พร้อมส่งมอบให้กองทัพภาคที่ ๓  เพื่อเคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน  ณ  จังหวัดลำปาง ต่อไป
            ในปี  พ.ศ. ๒๕๔๙   จังหวัดลำปาง และ มณฑลทหารบกที่ ๓๒ ได้ร่วมพิจารณาหาสถานที่ตั้ง    ที่เหมาะสม  ซึ่งสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ลำปาง ได้นำเสนอสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ  ๗๒พรรษา  มหาราชินี   อำเภอเกาะคา  จังหวัดลำปาง มีระยะทางห่างจากจังหวัดลำปางไปทางทิศใต้  ประมาณ  ๑๐ กิโลเมตร   เปรียบเสมือนประตูสู่ดินแดนล้านนา  มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ผู้สัญจรไปมา สามารถมองเห็นพระบรมราชานุสาวรีย์ได้ตลอดทั้ง ๒ ช่องทาง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางขึ้นเหนือ  ๖  จังหวัด   ได้แก่  ลำปาง  ลำพูน  เชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน  พะเยา  และเชียงราย    




 
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ  ๗๒ พรรษา  มหาราชินี   อำเภอเกาะคา ได้ผ่านการสำรวจความคิดเห็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนครลำปาง โดยได้เชิญตัวแทนภาคประชาชน เอกชน ข้าราชการ และหน่วยงานต่างๆ จากทั้ง ๑๓ อำเภอ ของจังหวัดลำปางร่วมทำประชาพิจารณ์ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุมจันทน์ผา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง


สถานที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานที่ตามแผนแม่บทสร้างศูนย์ราชการใหม่ ๒๒ หน่วยงานของจังหวัดลำปาง รวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางอยู่ในพื้นที่  โดยเทศบาลตำบลเกาะคา จะเป็นหน่วยรับผิดชอบในการดูแลพระบรมราชานุสาวรีย์


สำหรับความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์การเดินทัพผ่านเมืองลำปางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  มีหลักฐานบันทึกภายหลังที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคต ณ เมืองหาง สมเด็จพระเอกาทศรถ   ได้เคลื่อนย้ายจากพระบรมศพของพระองค์ จากเมืองหาง  เชียงใหม่  สู่เมืองหริภุญชัย เดินทัพข้ามเทือกเขาขุนตาล  แล้วพักกลางป่าที่ห้างฉัตร  ๒ คืน มีการทำเครื่องหมายการพักทัพ    ด้วยการสร้างเจดีย์ขนาดเล็กขึ้น ๑ แห่ง   ที่กลางป่าอันเป็นจุดที่ตั้งพระบรมศพ  
ต่อมากองทัพเดินทางไปเกาะคา  พักทัพที่เมืองลัมภกัปปะ (เวียงพระธาตุลำปางหลวง)  ๒ คืน    ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง    ก่อนที่จะเคลื่อนทัพไปสบปราบ ทุ่งเสลี่ยม เมืองสุโขทัย กลับสู่กรุงศรีอยุธยา     
การก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนครลำปาง นอกจากเป็นการเทิดพระเกียรติ และรำลึกถึงมหากรุณาธิคุณที่ทรงกอบกู้เอกราชชาติไทยแล้ว ยังเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน เป็นที่พักผ่อนและศึกษาต้นไม้ทางวรรณคดีไทย รวมทั้งยังเป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนา และฝึกอาชีพให้กับประชาชน
การดำเนินการครั้งนี้ มิได้ใช้งบประมาณของแผ่นดิน แต่เป็นการร่วมแรงร่วมใจของ      ชาวลำปางและชาวไทย  สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รำลึกพระปรีชาสามารถ แห่งพระนเรศวรมหาราช  เพื่อเกริกเกียรติจอมกษัตริย์สืบไป

กองทัพภาคที่ ๓ โดย มณฑลทหารบกที่ ๓๒  ร่วมกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐ เอกชน พ่อค้า  ประชาชนชาวจังหวัดลำปางและชาวไทยทุกคน     ได้ร่วมใจก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนครลำปาง   ในพระอิริยาบถทรงม้าศึก   ขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง   พร้อมไพร่พล  เพื่อเทิดพระเกียรติ  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ยิ่งใหญ่    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและวีรกรรมของพระองค์ และเทิดทูนไว้เหนือเกล้าฯ ชั่วกาลนาน  และจัดงานพิธีอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่โดยมี     มหรสพสมโภชตลอด ๓ คืน ตั้งแต่คืนวันที่  ๙ – ๑๑  กันยายน ๒๕๕๓   ณ บริเวณสวนสาธารณะ  อำเภอเกาะคา     มีฉายภาพยนตร์เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช    กีฬาชนไก่    การแสดงศิลปะมวยไทย     โดยเฉพาะในคืนวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๓  ชมฟรีคอนเสิร์ตเวทีไท  สด  ณ  สวนสาธารณะอำเภอเกาะคา พร้อมผู้ชมทั่วประเทศซึ่งทำการถ่ายทอดสดทาง ททบ.๕   






ด้วยจดจำวีรกรรม และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมไปตราบชั่วกาลนาน  อันอังคาร สังขาร ของกูนี้   ล่วงลับแล้ว สี่ร้อยปี หรือมิใช่
ถึงกายกู
ตัวกู จะจากไป  วิญญาณไซร้ ยังแหนหวง
ห่วงแผ่นดิน
แผ่นดินไทย
ผืนนี้ ยังมีอยู่  เพราะกูกู้ สู้ไว้ เป็น ไทย
ทั้งสิ้น
ลูกหลาน
เหลนโหลน ได้อยู่กิน  ครองไทยถิ่น สืบทอด
ตลอดมา
วันกรุงศรี
เคยคลุกคลี ด้วยสีเลือด  แผ่นดินเดือด เพราะชาติใกล้
ใจริษยา
มันยกพล
โจมตี กี่ครั้งครา  ต้องถอยล่า แพ้เลือดไทย
สู้ไหลริน
ถิ่นไทยนี้
ที่รัก และศักดิ์สิทธิ์  ผู้ใดคิด มุ่งร้าย
มลายสิ้น
เพราะแรงใจ
ไทยทั้งปวง หวงแผ่นดิน ใครแรงสิ้น วิญญาณกู จะสู้เอง
ประพันธ์โดย  พล.ต.พิจิตร ขจรกล่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น